สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี

สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี

มารู้จัก สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่สารพฤกษเคมีเป็นสารประกอบจากธรรมชาติที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ มีประโยชน์ในด้านช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และการป้องกันสารพัดโรค

สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี

สารพฤกษเคมี

สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytochemical หรือ Phytonutrients) สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว สารพฤกษเคมีเหล่านี้หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิด

กลไกการทำงานของสารพฤกษเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเป็นไปโดยการช่วยให้เอ็นไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น เอ็นไซม์บางชนิดทำหน้าที่ทำลายสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย มีผลทำให้สารก่อมะเร็งหมดฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันพบสารพฤกษเคมีแล้วมากกว่า 15,000 ชนิด

ผักหลากสี

ชนิดของสารพฤกษเคมี

1. Polyphenols

Polyphenolsรายละเอียด
Chlorogenic acidพบมากในเมล็ดกาแฟ สามารถต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อจุลินทรีย์และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
Ferulic acidพบมากในธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวโพด รำข้าว สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการอักเสบและลดระดับไขมันในเลือด
γ – Oryzanolพบมากในรำข้าว/น้ำมันรำข้าว สามารถต้านอนุมูลอิสระและลดระดับไขมันในเลือด ( โดยเฉพาะ LDL-C )
Curcuminพบมากในขมิ้น สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการอักเสบ ป้องโรคเบาหวานและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์
Resveratrolพบมากในองุ่น ไวน์แดง ถั่วลิสง สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการอักเสบ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและช่วยชะลอความชรา
Quercetinพบมากในหอมแดง แอปเปิ้ล องุ่น สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการอักเสบ ลดความดันโลหิต ลดระดับน ้าตาลและไขมันในเลือดและเพิ่มการสลายไขมันในร่างกาย
Anthocyaninsพบมากในองุ่น เบอรี่ กระเจี๊ยบ อัญชัน สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการอักเสบเรื้อรังและบำรุงสมอง สายตา หัวใจและผิวพรรณ
Catechinsพบมากในชาเขียว ชาขาว ชาดำ โกโก้ สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกายและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
Isoflavonesพบมากในถั่วเหลือง สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
Hesperetinพบมากในส้ม มะนาว สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
Naringinพบมากในผลไม้จำพวกส้ม ( ให้รสขม ) สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ลดระดับไขมันในเลือดและป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร
Tanninพบมากในกระเฉด ฝรั่ง พุทรา ชา กาแฟ ( ให้รสฝาด ) สามารถต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และลดการดูดซึมแร่ธาตุ
สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี

2. Terpenoids

2.1 ) Carotenoids

Carotenoidsรายละเอียด
β -Caroteneพบมากในแครอท ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอสุก เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีและเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Lycopeneพบมากในมะเขือเทศ แตงโม สามารถต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและกระดูกพรุน
Lutein & Zeaxanthinพบมากในข้าวโพด ไข่แดง อะโวคาโด ป้องกันการเกิดจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุและลดอัตราเกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ
Astaxanthinพบมากในสาหร่ายเซลล์เดียว ( Microalgae ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง ลดการเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง เบาหวาน ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี เพิ่มความทนทานและลดความล้าของกล้ามเนื้อ

2.2 ) Non-Carotenoids

Non-Carotenoidsรายละเอียด
Saponinsพบมากในถั่วต่างๆ สามารถต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร
สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี

3. Glucosinolates

Glucosinolatesรายละเอียด
Sulforaphaneพบมากในกะหล่ำคะน้า บร็อคเคอรี่ สามารถต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในกระบวนการก าจัดสารพิษและป้องกันโรคมะเร็ง
4. Thiosulfonates
Thiosulfonatesรายละเอียด
Allicinพบมากในกระเทียม ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิตและป้องกันการแข็งตัวของเลือด

5. Phytosterols

Phytosterolsรายละเอียด
Plant Stanolsพบมากในข้าวโพด ถั่วต่างๆ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

6. Capsaicin

Capsaicinรายละเอียด
Capsaicinพบมากในพริก ต้านการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมัน

7. Xanthones

Xanthonesรายละเอียด
α , γ-mangostinพบในมังคุด สามารถต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ยับยั้งภาวะการอักเสบ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
Chlorophyllสารสีเขียวที่พบในพืช สามารถต้านอนุมูลอิสระได้
สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี

แบ่งตามสีของผัก

1. สารสีเขียว ( Phytochemical : Lutein, Indoles, Chorophyll )

สีเขียวนั้นเกิดจากสารคลอโรฟิลล์ และยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ซีแซนทีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินบี 2 ที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตวยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคและช่วยเร่ง กำจัดฤทธิ์สารก่อมะเร็ง

ได้แก่ บร็อคโคลี คะน้า ผักชี บวบ หน่อไม้ฝรั่ง กุยช่าย ผักบุ้ง ผักโขม ผักปวยเล้ง ผักกาดหอม แตงกวา ถั่วลันเตา

2. สารสีน้ำเงิน-ม่วง ( Phytochemical : Anthocyanins, Phenolics )

มีสารแอนโธไซยานิน ( anthocyanin ) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และดวงตา ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจอัมพาต และโรคมะเร็ง ป้องกันระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ได้แก่ หัวบีท  กะหล่ำปลีม่วง หอมแดง ดอกอัญชัน เผือก มะเขือม่วง บลูเบอร์รี่ องุ่น บีทรูท

3. สารสีส้ม เหลือง ( Phytochemical : Bioflavonoids, Carotenoids )

อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนและ ฟลาโวนอยส์ ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก ช่วยป้องกันผิวที่อาจเกิดจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดดได้

จึงทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย แลดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของเซลล์เยื่อบุตาขาว กระจก ตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย

ได้แก่ ฟักทอง แครอท ข้าวโพด มะละกอ แคนตาลูป สับปะรด แอปริคอต มะม่วง

4. สารสีแดง ( Phytochemical : Lycopene, Anthocyanins )

มีสารไลโคพีน ( lycopene ) และ เค็บไซซินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง และช่วยลดปริมาณไขมันตัวร้ายในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ช่วยลดการเจ็บป่วย และ เพิ่มการเผาผลาญไขมัน

ได้แก่ มะเขือเทศ พริกแดง แตงโม กระเจี๊ยบแดง องุ่นแดง สตอเบอร์รี่ หัวหอมแดง

5. สารสีขาว-น้ำตาล ( Phytochemical : Allicin, Mineral Selenium )

มีสารอัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ในการทำลายพิษช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

ได้แก่ กระเทียม หัวหอม กะหล่ำปลี เห็ด กล้วย แนคทารีน

สารพฤกษเคมีจากผักหลากสี

นอกจากบทความนี้แล้วเราก็ยังมีบทความอื่นๆที่น่าสนใจอยากแนะนำให้คุณ 5 มหาวิทยาลัยเอกชนน่าเรียน เหมาะสำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย หรือจะเป็นบทความที่เกี่ยวกับการศึกษา 4 การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ที่น่าสนใจเอาไว้ใช้สมัครเรียน หรือทำงาน