Penguin Eat Shabu ธุรกิจร้านอาหารแบบ Role Model

ร้านบุฟเฟต์ชาบูที่เปิดมานานกว่า 6 ปี 9 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ร้าน Penguin Eat Shabu สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าด้วยหน้าร้านที่มีลูกเล่นของเพนกวินสุดน่ารัก

รวมถึงการจัดกิจกรรมให้ลูกค้าที่มาทานบุฟเฟต์ที่ร้านตามเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งมาควบคู่กับการใช้สื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ ยอดขาย 100% ของร้าน PenguinEat Shabu จึงมาจากหน้าร้านเป็นหลัก

แต่เมื่อร้านต้องปิดหน้าร้านกะทันหันจากวิกฤต COVID-19 ทำให้ร้านที่ยังต้องแบกรับต้นทุนคงที่ (Fixed cost) อยู่ทุกเดือนเกิดปัญหา วิกฤตที่ถาโถมเข้ามากระทบกับร้าน PenguinEat Shabu แบบไม่ทันได้ตั้งตัว คุณต่อ-ธนพงศ์ จะมีเทคนิคและการปรับตัวอย่างไรให้ร้านอยู่รอดท่ามกลางวิกฤตนี้กันบ้าง มาดูสรุปเทคนิคเบื้องต้นของคุณต่อกัน

Penguin Eat Shabu ธุรกิจร้านอาหารแบบ Role Model

1.ปรับตัวให้เร็ว เข้าเกม “เดลิเวอรี” ทางรอดหนึ่งเดียวในยามนี้

ปรับตัวเข้ากับยุค Go Online ก้าวให้ทันโลกออนไลน์ด้วยเดลิเวอรี ร้าน PenguinEat Shabu เคยลองทำเดลิเวอรีเอง แต่ด้วยข้อจำกัดอะไรหลายๆ อย่างทำให้ต้องเปลี่ยน และหันมาเป็นพาร์ทเนอร์กับ LINE MAN เพื่อให้มีพื้นที่การจัดส่งที่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น และทางร้านยังปรับกลยุทธ์ใหม่ คิดเมนูที่เหมาะสมกับการทำเดลิเวอรีและ Social Distancing จากเดิมที่เราเปิดขายแต่ชาบู ก็เริ่มมาทำเมนูจานเดี่ยวเพิ่มขึ้นโดยเมนูต้องเหมาะกับลูกค้าเดิมของเรา ใช้วัตถุดิบเดิมได้ และต้องตั้งราคาที่เข้าถึงง่ายด้วยเช่นกัน

Penguin Eat Shabu ธุรกิจร้านอาหารแบบ Role Model

2.ลดค่าใช้จ่ายให้เยอะที่สุด เพื่อช่วยพนักงานให้มากที่สุด

ถึงแม้จะไม่มีหน้าร้าน แต่ยังมีบิลต้องจ่าย ทางร้านพยายามลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปให้มากที่สุดเพื่อรักษาทุกคนในร้านไว้ให้ได้คือเรื่องสำคัญสำหรับร้าน PenguinEat Shabu เพื่อให้พนักงานของเรามีรายได้อยู่ต่อไป สื่อสารกับพนักงานทุกคนให้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางในการแก้ไข ที่ผ่านมาเขาพยายามสื่อสารเรื่องการปรับโครงสร้างขององค์กรเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย และหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญขององค์กร ก็คือ การเปลี่ยนจากพนักงานประจำที่ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายเดือนมาเป็นลูกจ้างรายวันแทน เพื่อลดค่าใช้จ่าย

Penguin Eat Shabu ธุรกิจร้านอาหารแบบ Role Model

3.สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์

เพราะทุกวันนี้ทุกร้านก้าวเข้าสู่ออนไลน์ทั้งหมด เราต้องสร้างตัวตนที่ชัดเจนกว่าบนโลกออนไลน์ เช่น การใช้ Greeting Message บน LINE Official Account เพื่อบ่งบอกตัวตนของร้านตั้งแต่ลูกค้าแอดเราเป็นเพื่อน อย่างร้าน PenguinEat Shabu เองก็ใช้ส่วนนี้ในการถ่ายทอดความเป็นตัวเราที่เฮฮา ขี้เล่น ไม่ค่อยจริงจังมากนัก ส่วนนี้เองที่ช่วยให้ร้านขิงเรามีตัวตนของแบรนด์ที่ชัดเจน และแตกต่างจากเจ้าอื่น ๆ เพราะนี่คือคาแรคเตอร์ของเราที่ลูกค้าจำได้เสมอมา

4.สร้างหานวัตกรรมแคมเปญใหม่ๆ

ต้องยอมรับว่าแคมเปญที่ทำให้ PenguinEat Shabu ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์มากที่สุดในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นแคมปญ “สั่งชาบูแถมหม้อ” ที่เป็นการหลบข้อจำกัดหรือ Pain Point ของร้านอาหารชาบู คือ ต้องมีหม้อต้มสุกี้ได้อย่างดีเยี่ยม

ธนพันธ์ เล่าว่าการเปิดพรีออร์เดอร์สั่งชาบูแถมหม้อครั้งแรก ระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 นาที PenguinEat Shabu มียอดพรีออร์เดอร์เข้ามามากกว่า 1,300 ราย เยอะจนระบบรับออร์เดอร์ และระบบจ่ายเงินทำงานไม่ทัน ซึ่งถือเป็นเรืองที่ไม่คาดคิดมาก่อน ปัจจุบันนี้ Penguin Eat Shabu สามารถปิดการขายได้เฉลี่ยแล้วมากกว่า 3,000 รายการต่อวัน

5.สร้างเซอร์ไพรส์กับลูกค้าด้วย Storytelling

ในช่วงแรกของการทำ Food Delivery ธนพันธ์ คิดว่าทำอย่างไรถึงจะสร้างกระแสในโซเฃียลได้ เพราะรู้ดีว่ากระแสจะช่วยทำให้คนรู้จักและจดจำภาพลักษณ์ใหม่ของ PenguinEat Shabu ในส่วนของธุรกิจ Food Delivery

ธนพันธ์ ตัดสินใจทำแคมเปญแรกคือ Mystery Order ด้วยการเปิดพรีออร์เดอร์สั่งเมนูอาหารที่คนซื้อเองก็เดาไม่ถูกว่าจะได้กินอะไร ซึ่งพบว่าได้ผลตอบรับอย่างดีเยี่ยม PenguinEat Shabu สามารถขายพรีออร์เดอร์หมดในเวลาเพียง 1 นาที

6.สั่งอาหารต้องง่าย

เมื่อทำให้ลูกค้ารู้จักและจดจำเราได้แล้ว ลูกค้าต้องเข้าถึงเราได้ง่ายด้วยการกดสั่งออเดอร์เดลิเวอรีได้สะดวก รวดเร็ว และง่ายดายโดยไม่ต้องสลับแอปพลิเคชันไปมา โดยปกติร้าน PenguinEat Shabu จะใช้ LINE Official Account ให้ลูกค้ากดสั่งออเดอร์เดลิเวอรีเข้ามา เมื่อลูกค้าเข้ามาแล้วนอกจากจะดูโปรโมชันต่างๆ ของร้านได้แล้ว ลูกค้ายังกดออเดอร์ LINE MAN ผ่านริชเมนู (Rich Menu) ใน LINE Official Account ได้เลยโดยไม่ต้องสลับแอปพลิเคชันไปมา

7.คิดแบบ Abnormal ตื่นตัวตลอดเวลา

ขณะที่ทุกคนกำลังพูดถึงเรื่อง New Normal ธนพันธ์ คิดไปไกลกว่านั้นแล้ว เขาคิดว่าจากนี้ไปจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Abnormal ซึ่งทำให้ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา “จากนี้จะไม่มีคำว่า New Normal แต่มีคำว่า Abnormal มาแทน เราต้องคิดว่าวิกฤตแบบนี้จะอยู่กับเราตลอดไป เพราะฉะนั้นคิดอะไรได้ต้องทำก่อนเลย ทำเหมือนว่า COVID-19 จะไม่วันหายไป คิดเหมือนกับมันอยู่กับเราตลอดชีวิต เราพร้อมจะเจ๊งอีกได้ทุกเมื่อ เราจะได้ทำอะไรด้วยความระวัง ตัวเบา และรวดเร็วมากขึ้น”

ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมาหลายๆ ร้านคงประสบปัญหาต่างๆ มากมาย อย่างเช่นการปิดหน้าร้าน ทำให้รายได้ลดลง การคิดกลยุทธ์ทางการขายใหม่ๆ รวมไปถึงการปรับตัวและตื่นตัวพร้อมรับปัญหาต่างๆ เข้ามา และก้าวข้ามปัญหาเหล่านั้นไปได้ จะทำให้ธุรกิจของเรานั้นไม่ล้มลงอย่างแน่นอน

สำหรับใครที่เป็นสายอาร์ตชอบงานศิลปะต่างๆเราขอแนะนำให้ รู้จักศิลปะ กับ 7 แขนงทางศิลปะทัศนะของนักปราชญ์แต่ละคน รวมทั้งความเชื่อแนวคิด ในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีความแตกต่างกัน

บทความแนะนำเพิ่มเติม : กลยุทธ์การตลาด เบื่องหลังความสำเร็จ ของสตาร์บัคส์