
6 นักธุรกิจหญิง ที่รวยที่สุดในเมืองไทย
เมื่อบทความที่แล้ว pgsoft168.info ได้พาไปดู 10 อภิมหามหาเศรษฐีไทย ในบทความจะเห็นเพียงนักธุรกิจชายที่ 10 อันดับแรกเท่านั้น แต่เมืองไทยยังมีนักธุรกิจหญิงที่เก่ง ๆ มากมาย วันนี้เราจะพามาดู 6 นักธุรกิจหญิง ที่รวยที่สุดในเมืองไทย โดยใช้ข้อมูลจาก Forbes Thailand’s 50 Richest
6 นักธุรกิจหญิง ที่รวยที่สุดในเมืองไทย

ศุภลักษณ์ อัมพุช
- เดอะมอลล์ กรุ๊ป
- ธุรกิจ: รีเทล
ในการจัดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยในไทย ศุภลักษณ์ อัมพุช ในอันดับที่ 20 มีทรัพย์สิน 5.23 หมื่นล้านบาท
ราชินีค้าปลีก ศุภลักษณ์ อัมพุช คือผู้นำหญิงของ เครือเดอะมอลล์ เชนค้าปลีกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ อาณาจักรค้าปลีกของตระกูลสร้างรายได้ให้กว่า 5.8 หมื่นล้านบาทในปี 2561 และพี่น้อง 6 คนของเธอก็ร่วมบริหารอยู่ในอาณาจักรนี้ด้วย
เครือเดอะมอลล์บริหารศูนย์การค้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังคือ สยามพารากอน และ เอ็ม ดิสทริค จุดหมายปลายทางแห่งการช็อปปิ้งระดับลักชัวรีซึ่งประกอบด้วย ดิ เอ็มโพเรียม ดิ เอ็มควอเทียร์ และที่กำลังก่อสร้างคือ ดิ เอ็มสเฟียร์ ซึ่งจะมีศูนย์รวมศิลปะและการแสดงขนาดใหญ่อยู่ภายใน มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท พร้อมจับมือ AEG ผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงและกีฬาระดับโลก สร้าง สนามกีฬา 2 แห่งเพื่อเติมเต็มจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของ “ดิ เอ็มดิสทริค” แห่งนี้

สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ
- ไทยซัมมิทกรุ๊ป
- ธุรกิจ: ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ในการจัดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยในไทย สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ในอันดับที่ 28 มีทรัพย์สิน 3.20 หมื่นล้านบาท
ประธานกลุ่มไทย ซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของประเทศ ที่ก่อกำเนิดจากร้านรับทำเบาะมอเตอร์ไซค์ของ 2 พี่น้อง สรรเสริญ จุฬางกูร และ พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ สามีผู้ล่วงลับของสมพร ร่วมกันสร้างแล้วค่อยแยกกันโต สร้างอาณาจักรชิ้นส่วนยานยนต์ของตัวเองมูลค่านับหมื่นล้านบาท
ไทยซัมมิทกรุ๊ป ได้ทำสัญญาเป็นผู้ผลิตตัวถังรถยนต์น้ำหนักเบา เทคโนโลยีที่ไทยซัมมิทกรุ๊ปพัฒนาขึ้นมาเองเพื่อส่งมอบให้กับ Tesla inc. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา สำหรับใช้เป็นโครงสร้างรถยนต์ Tesla ในโมเดล 3 รุ่นล่าสุด ในระยะ 4-5 ปี ต่อจากนี้

ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ
- คาราบาวกรุ๊ป
- ธุรกิจ: เครื่องดื่มชูกำลัง
ในการจัดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยในไทย ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ ในอันดับที่ 39 มีทรัพย์สิน 1.93 หมื่นล้านบาท
คาราบาวกรุ๊ป ยังคงรั้งอันดับสองในศึกชิงจ้าวเครื่องดื่มชูกำลัง โดยมี โอสถสภาฯ รั้งหมายเลขหนึ่ง การเป็นสปอนเซอร์ในการแข่งขันฟุตบอลของ คาราบาวกรุ๊ป ต่อเนื่องทำให้หุ้นของคาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG เป็นที่สนใจในชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคชาวอังกฤษของคาราบาวอยู่ในกลุ่ม 25-34 ปี เป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่ง
สำหรับณัฐชไม แยกตัวออกมาจากธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงินของครอบครัว เพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับเสถียร ก่อนที่ในปี 2542 จะก่อตั้งโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ซึ่งเป็นทั้งโรงเบียร์ขนาดเล็กและร้านอาหาร ถัดมา 2 ปี ทั้งคู่จับมือเป็นพันธมิตรกับ แอ๊ด คาราบาว ศิลปินเพื่อชีวิตชื่อดัง เพื่อเจาะตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง

Nishita Shah
- GP Group
- ธุรกิจ: หลากหลาย
ในการจัดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยในไทย Nishita Shah ในอันดับที่ 41 มีทรัพย์สิน 1.89 หมื่นล้านบาท
ทายาทสาวของบริษัทขนส่งทางทะเล ผู้บริหาร GP Group ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและเพิ่งฉลองครบรอบ 150 ปี ธุรกิจเมื่อปีที่ผ่านมา ในฐานะทายาทรุ่น 3 ของนักธุรกิจชาวอินเดียที่เข้ามาทำกิจการในไทย ทั้งเป็นลูกสาวคนโตในอาณาจักรซึ่งทำธุรกิจหลากหลายตั้งแต่เดินเรือ ยา อาหารเสริม ก่อสร้าง พลังงาน เหมืองแร่ เคมีภัณฑ์ อะลูมิเนียม โรงแรม ส่งออกสินค้าเกษตร นายหน้าประกันภัย ไปจนถึงซอฟต์แวร์และเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว

จรีพร จารุกรสกุล
- ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น
- ธุรกิจ: โลจิสติกส์และคลังสินค้า
ในการจัดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยในไทย จรีพร จารุกรสกุล ในอันดับที่ 48 มีทรัพย์สิน 1.57 หมื่นล้านบาท
จรีพร ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ WHA บริษัทชั้นนำในธุรกิจคลังสินค้าและโลจิสติกส์ของประเทศไทย ร่วมกับอดีตสามี-นพ.สมยศ อนันตประยูร หลังการหย่าร้าง จรีพร กลับไปใช้นามสกุลเดิม ทำให้ทั้งคู่หลุดโผเนื่องจากมีการแบ่งแยกทรัพย์สิน หลัง นพ.สมยศ เสียชีวิตได้ส่งต่อหุ้นให้กับบุตรสาวคนเดียว ซึ่งมีการรวมมรดกส่วนดังกล่าวเข้ากับทรัพย์สินของจรีพร เธอเองได้รับฉายา ผู้บริหารหญิงแกร่งแห่งวงการธุรกิจคลังสินค้าและโลจิสติกส์ของไทย

จรรย์สมร วัธนเวคิน
- เกียรตินาคิน กรุ๊ป
- ธุรกิจ: การลงทุน
ในการจัดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยในไทย จรรย์สมร วัธนเวคิน ในอันดับที่ 50 มีทรัพย์สิน 1.50 หมื่นล้านบาท
จากจุดเริ่มต้นที่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดย เกียรติ วัธนเวคิน เมื่อปี 2514 ธุรกิจผ่านความสำเร็จและมรสุมไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ที่ถูกระงับกิจการชั่วคราวร่วมกับ สถาบันการเงินอีก 57 แห่ง ก่อนได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังในกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้งในปี 2541 และ ปี 2542 แยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน
โดย 2548 บริษัทเงินทุน เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ในชื่อ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และร่วมกิจการกับบริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) รวมเรียกว่า “กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร” โดยได้ผู้บริหารมือดี อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ นั่งตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บทความที่น่าสนใจ หนึ่งทางเลือกที่ดีกับการลดความเสี่ยงด้วย ยาต้านไวรัส HIV